ลิฟต์กันระเบิด
ลิฟท์กันระเบิด
ลิฟต์กันระเบิด
วิธีการออกแบบอุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบในการติดตั้งระบบไฟฟ้าที่สามารถป้องกันการระเบิดเกิดจากแนวคิดพื้นฐานที่ว่า การเกิดเพลิงไหม้จะต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่างคือสารไวไฟปริมาณมากพอ ออกซิเจน และแหล่งจุดติดไฟ ดังนั้นวิธีการป้องกันการระเบิดจึงใช้แนวคิดพื้นฐานในการป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสูงที่ผิวเครื่องห่อหุ้มหรือเกิดประกายไฟได้ แต่ถ้าเกิดมีประกายไฟขึ้นภายในเครื่องห่อหุ้มก็จะไม่ทำให้เกิดไฟไหม้ลุกลามออกนอกสู่ภายนอกได้
ดังนั้น มอเตอร์เหนี่ยวนำ ชนิดกรงกระรอก ซึ่งเป็นมอเตอร์ที่มีความนิยมใช้งานในอุตสาหกรรมมากที่สุด เมื่อจะนำมาใช้ในพื้นที่ ไวไฟ จะต้องมีความเชื่อมั่นในความปลอดภัยสูง และจะต้องเป็นแบบป้องกันการระเบิดหรือ ลุกไหม้ ตามข้อกำหนด ของมาตรฐานยุโรป ได้แบ่งพื้นที่ออกตาม โอกาศที่จะติดไฟ หรือ ตามความร้ายแรง หรือ ผลกระทบต่อการเกิดระเบิด โดยแบ่งพื้นที่ก๊าซออกเป็น 3 โซน คือ

โซน 0 (ATEX 1G/1D) เป็นพื้นที่ก๊าซอันตรายสูงสุด ซึ่งมีก๊าซ หรือไอที่มีการระเบิดได้เป็นช่วงเวลานาน หรือมากกว่า 100 ชม. ต่อปีได้ เช่น ในภาชนะที่บรรจุของเหลวที่ติดไฟหรือแกส ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง หรือในถังก๊าซรถบรรทุก เป็นต้น สำหรับโซน 0 นี้ จะไม่สามารถจะให้มีมอเตอร์ได้ในโซนนี้

โซน 1 (ATEX 2G/2D)เป็นพื้นที่ก๊าซอันตราย อาจจะเกิดการระเบิด ขึ้นได้โดยไม่คาดคิด จากการทำงานตามปกติ ซึ่่งมีก๊าซ หรือ ไอ ที่มีการระเบิดได้มากกว่า 10-1000 ชม.ต่อปี เช่น พื้นที่โดย รอบโซน 0 หรือพื้นที่ช่องระบาย ช่องประตูเปิดและปิดเพื่อส่งถ่าย สารไวไฟ หรือพื้นที่รอบๆ ท่อส่งก๊าซไวไฟ เป็นต้น ดังนั้น อุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะใช้ในโซนนี้จะต้องผ่านการทดสอบเฉพาะ (type-tested) และได้รับการรับรอง โดยองค์กรณ์กลางที่น่าเชื่อถือ เช่น PTB / BVS / US-NEC หรือ มาตรฐานใหม่ ATEX ของยุโรป เป็นต้น

โซน 2 (ATEX 3G/3D) เป็นพื้นที่ก๊าซ ที่ไม่มีก๊าซติดไฟปรากฏตามสภาวะการใช้งานปกติ มีก๊าซไวไฟน้อยกว่า 10 ชม. ต่อปี เป็นพื้นที่ที่อาจเกิดระเบิดอันตรายได้ โดยมีโอกาศจะเกิดขึ้นนานนานครั้ง และมีช่วงระยะเวลาอันสั้น อุปกรณ์ทางไฟฟ้าตามมาตรฐานโซน 1 สามารถนำมาใช้กับโซนนี้ได้ โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้จะต้องไม่มีการสปาร์ค ใบรับรองอาจจะไม่จำเป็น ถ้าอุณหภูมิของพื้นผิวอุปกรณ์ มีค่าต่ำกว่า 880 องศาเซลเซียส โดยปกติมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบกรงกระรอก สามารถใช้ได้ในโซน 2 โดยการกำหนดค่าสูงสุด อุณหภูมิที่ผิวมอเตอร์ ( Maximum Surface Temperature) ในระหว่างการทำงานตาม class ของอุณหภูมิโดยเฉพาะ โดยใช้ตัวอักษร T1/T2/T3….. เป็นตัวกำหนดอุณหภูมิพื้นผิวมอเตอร์ ว่าเหมาะสมจะไปใช้ในสภาพก๊าซ หรือ ไอ อันตรายแบบใด
การกำหนดมาตรฐานการป้องกันระเบิด จึงต้อง กำหนดให้ครอบคลุม พื้นที่อันตรายให้ครอบคลุมไปถึงฝุ่นที่สามารถ ติดไฟได้ หรือ ระเบิดได้ โดยมาตรฐานยุโรปเดิม ได้แบ่งพื้นที่อันตรายจากฝุ่นผงออกเป็น โซน 10 และ โซน 11 ดังต่อไปนี้

โซน 10 เป็นพื้นที่ ที่สามารถเกิดการจุดระเบิด หรือ ติดไฟได้บ่อย หรือเป็นระยะเวลานานจากฝุ่นที่ติดไฟได้ ถือเป็นพื้นที่อันตรายสูง เช่น ภายในเครื่องผสม บด อัด เครื่องอบแห้ง เป็นต้น ดังนั้นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะให้ใช้ในโซนนี้ จะต้องผ่านการทดสอบเฉพาะ(type-tested) และได้รับการรับรอง โดยองค์กรณ์กลางที่น่าเชื่อถือ เช่น PTB / BVS / US-NEC หรือ มาตรฐานใหม่ ATEX ของยุโรป เป็นต้น

โซน 11 เป็นพื้นที่ ที่สามารถเกิดการจุดระเบิด หรือสามารถติดไฟได้จากฝุ่น กระจายตัวติดไฟได้ โดยมีระยะเวลาไม่นาน เช่น บริเวณโดยรอบถังไซโล หรือ บริเวณโดยรอบโซน 10 เป็นต้น อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือ มอเตอร์ที่จะนำมาใช้งาน ให้แยกต่างหากตาม DIN 57165/VDE0165 ตอน 7.1
บริษัท ซิคเคอร์ ชไนเดอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (+66) 86-3981323, (+66) 86-3136855
คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์
ดาวน์โหลด spec สินค้าได้ที่นี่
ต้นแบบโปรเจค
ติดตาม Project เราได้ที่นี่
ติดต่อ
ติดต่อ call center
ต้นแบบโปรเจค
ติดตาม Project เราได้ที่นี่
ต้นแบบโปรเจค
ติดตาม Project เราได้ที่นี่
ติดต่อ
ติดต่อ call center